วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยที่ 1สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy)

1.สาระสำคัญ
 สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา มนุษย์รู้จักนำสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำเอาไม้มาก่อสร้างที่อยู่อาศัย การนำแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน     ซึ่งพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เราใช้พลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง การบริการ และการผลิตทั้งในภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม ในสถานการณ์ปัจจุบันการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางภาคการคมนาคมขนส่ง ภาคเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการพลังงานในประเทศสูงขึ้น โดยมีแนวโน้มว่าจะยังคงสูงขึ้นต่อไปอีก ประกอบกับแหล่งพลังงานในประเทศมีอย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้การสำรวจ และการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ไม่เพียงแต่จะใช้เงินลงทุนที่สูงมากเท่านั้น แต่เรายังสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามหาศาล อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย
2.   สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้

                                   มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของสิ่งแวดล้อมประเภทของสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ความหมาย
 3.    จุดประสงค์การเรียนรู้
1.           อธิบายความหมายของสิ่งแวดล้อมได้                         
2.       บอกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้           
3.       ระบุความสำคัญของสิ่งแวดล้อมได้                             
4.       อธิบายความหมายของคำว่าพลังงานได้                                                
5.       บอกความสำคัญของพลังงานได้
6.       อธิบายสถานการณ์ด้านพลังงานของโลกได้
7.       อธิบายสถานการด้านพลังงานของประเทศไทยได้  
8.       จำแนกประเภทของพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้
แบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยที่  1
คำชี้แจง       จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว

1.   ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
              ก.    สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
              ข.    สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
               ค.   สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์
               ง.   สิ่งแวดล้อม  หมายถึง   สิ่งที่มีชีวิต ได้แก่  คน  สัตว์   และ  พืช
2.   ข้อใดคือประเภทของสิ่งแวดล้อม
              ก.  กายภาพ และ ชีวภาพ
              ข.  มีชีวิต  และ  ไม่มีชีวิต
              ค.  รูปธรรม  และ  นามธรรม
              ง.   เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และ มนุษย์สร้างขึ้น 
3.   คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อมข้อใดไม่ถูกต้อง
              ก.   สิ่งแวดล้อมไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ
              ข.   สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
              ค.    สิ่งแวดล้อมจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นระบบ
              ง.   สิ่งแวดล้อมมีความแข็งแกร่งและทนทานเหมือนกัน
 4.   ข้อใดหมายถึงอาชีพขั้นปฐมภูมิ
             ก.   ค้าขาย
             ข.   บริการ
             ค.   เพาะปลูก
             ง.   ทำเหมืองแร่
5.   แหล่งพลังงานปฐมภูมิหมายถึงข้อใด
              ก.   น้ำมัน
              ข.   ถ่านหิน
              ค.   ปิโตรเลียม
              ง.   แสงอาทิตย์
6.   พลังงานในข้อใดสามารถนำมาใช้ในเชิงการค้าได้
              ก.   น้ำ
              ข.   มูลสัตว์
               ค.   ปิโตรเลียม
              ง.   ผลผลิตทางการเกษตร
7.   ชานอ้อย   แกลบ    มูลสัตว์    เป็นพลังงานประเภทใด
              ก.   พลังงานหลัก
              ข.   พลังงานสิ้นเปลือง
               ค.   พลังงานหมุนเวียน
             ง.   พลังงานที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
8.   กลุ่มประเทศในข้อใดที่มีสัดส่วนความต้องการใช้พลังงานสูงสุด
              ก.    กลุ่มยุโรป
              ข.   กลุ่มเอเชีย
              ค.   กลุ่มอเมริกาเหนือ
              ง.    กลุ่มตะวันออกกลาง
9.   พลังงานที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือข้อใด
               ก.    ถ่านหิน
              ข.    นิวเคลียร์
              ค.    ปิโตรเลียม
              ง.    ก๊าซธรรมชาติ
10.  วันรวมพลังไทย ลดใช้พลังงาน   หมายถึงข้อใด
             ก.   1   มิถุนายน   2548
             ข.   5   มิถุนายน   2549
             ค.   1   มิถุนายน   2550
             ง.    5   มิถุนายน   2550

เนื้อหา          
3.  คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อม
 1.  ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมหมายถึง  EVERYTHING AROUND US  สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นได้ทั้งรูปธรรม (จับต้องได้ มองเห็นได้) และนามธรรม (กฎหมาย,วัฒนธรรม) ทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต อาจมีทั้งคุณ และโทษแก่มนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมก็ได้
 2.    ประเภทของสิ่งแวดล้อม  แบ่งเป็น
         2.1   สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
         2.2   สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น  แบ่งเป็น
                  1)    สิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ  (รูปธรรม)
                 2)    สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม (นามธรรม)
      3.1  สิ่งแวดล้อมทุกชนิดมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดเฉพาะตัว  (Unique)     
      3.2  สิ่งแวดล้อมไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ   
      3.3  สิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นอยู่เสมอ                     
      3.4  สิ่งแวดล้อมจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นระบบ  ที่เรียกว่าระบบนิเวศ                                           
      3.5  สิ่งแวดล้อมทั้งหลายมักมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์ต่อกันและกันเป็นลูกโซ่    
      3.6  สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความเปราะบาง  แข็งแกร่งและทนทานแตกต่างกัน
      3.7  สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป   
4.  โครงสร้างความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม   แบ่งเป็น
      4.1  ทรัพยากรธรรมชาติ   
      4.2  สังคมสิ่งแวดล้อม   
      4.3  เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม    
      4.4  มลพิษสิ่งแวดล้อม   
5.   ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
      5.1  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการกระจายตัวของมนุษย์                       
      5.2  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์                          
              1)  ที่อยู่อาศัย                        
              2)   อาหาร                              
              3)   เครื่องนุ่งห่ม                             
              4)   ยารักษาโรค              
       5.3  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการประกอบอาชีพของมนุษย์                             
              1)   อาชีพขั้นปฐมภูมิ   
              2)   อาชีพขั้นทุติยภูมิ                   
              3)   อาชีพขั้นตติยภูมิ 
6.   ความหมายของพลังงาน
7.   ประเภทของพลังงาน
      7.1   พิจารณาตามแหล่งของพลังงาน
      7.2   พิจารณาตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
      7.3   พิจารณาตามช่วงเวลาในการใช้
      7.4    พิจารณาตามขนาด
8.   พลังงานที่มนุษย์นำมาใช้
      8.1    พลังงานหมุนเวียน
      8.2    พลังงานสิ้นเปลือง
   

                                                                  







ภาพที่  1  แหล่งพลังงานหมุนเวียน                           













ภาพที่  2    การเกิดพลังงานสิ้นเปลือง










ภาพที่ 3พลังงานสิ้นเปลืองประเภทต่างๆ                                                                    
      



ภาพที่  4   ภาพจำลองการเจาะน้ำมันจากแท่นเจาะ

  

     9.    ประโยชน์ของพลังงาน
   10.  สถานการณ์ด้านพลังงานของโลก
   11.  สถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทย
                                             


ภาพที่  5   แสดงวันรวมใจไทยลดใช้พลังงาน



บทสรุป
                จากความหมายของสิ่งแวดล้อม   จะเห็นได้ว่า  มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อย่างแนบแน่น  โดยเฉพาะพลังงาน  ซึ่งมนุษย์ได้ใช้พลังงานมาเป็นสิ่งเอื้ออำนวยประโยชน์ในการดำรงชีวิตมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  นอกจากนี้  มนุษย์ยังรู้จักประดิษฐ์    สิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย  ซึ่งจะต้องใช้พลังงานมากขึ้น  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานสิ้นเปลืองซึ่งหมายถึง  พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป  ส่วนใหญ่เป็นพลังงานจาก  น้ำมัน   ก๊าซธรรมชาติ  และ     ถ่านหิน  นอกจากนี้ ยังมีการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน  ซึ่งหมายถึงพลังงานทางเลือกที่สามารถสร้างขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่ใช้ไปหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น  พลังงานน้ำ   พลังงานลม   พลังงานแสงอาทิตย์  ฯลฯ   และหากยังมีการใช้พลังงานสิ้นเปลืองนี้เพิ่มขึ้นต่อไป     โดยสำรวจไม่พบแหล่งพลังงานสิ้นเปลืองเพิ่มเติมได้อีก  พลังงานดังกล่าวก็จะหมดไปจากโลก  ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพที่สุด  เพื่อสงวนรักษาพลังงานดังกล่าวไว้ให้นานที่สุด



                                    แบบทดสอบหลังเรียน  หน่วยที่  1

ตอนที่  1               จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.  ข้อใด  ไม่ใช่  สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
                ก.  รังสี
                ข.  แร่ธาตุ
                ค.  ค่านิยม
                ง.  คลื่นแม่เหล็ก
2.  ข้อใดหมายถึง  สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม
                ก.  พืช
                ข.  มนุษย์
                ค.  กฎหมาย
                ง.  แสงแดด
3.  สิ่งแวดล้อมในข้อใดที่มีความสำคัญมากที่สุด
                ก.  ดิน
                ข.  น้ำ
                ค.  อากาศ
                ง.  มนุษย์
4.  ข้อใด  ไม่ถูกต้อง
                ก.  สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต
                ข.  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
                ค.  สิ่งแวดล้อมคือ  ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
                ง.  มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงและควบคุมสิ่งแวดล้อมได้
5.  การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างฟุ่มเฟือย  จะก่อให้เกิดผลเช่นใด
                ก.  ภาวะมลพิษ
                ข.  ความขาดแคลน
                ค.  ความเสื่อมโทรม
                ง.  ทุกข้อคือคำตอบ

6.  ข้อใดหมายถึง  แหล่งพลังงานทุติยภูมิ
                ก.  พลังงานน้ำ
                ข.  พลังงานลม
                ค.  พลังงานขยะ
                ง.  พลังงานแสงอาทิตย์
7.  ข้อใด  ไม่ใช่  พลังงานทดแทน
                ก.  พลังงานลม
                ข.  พลังงานถ่านหิน
                ค.  พลังงานแสงอาทิตย์
                ง.  พลังงานความร้อนใต้พิภพ
8.  แหล่งพลังงานในข้อใดที่จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
                ก.  พลังงานจากน้ำมัน
                ข.  พลังงานจากมูลสัตว์
                ค.  พลังงานจากน้ำพุร้อน
                ง.  พลังงานจากการอุตสาหกรรม
9.  เราสามารถนำพลังงานมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
                ก.  การสาธารณูปโภค
                ข.  การเกษตรกรรม
                ค.  การอุตสาหกรรม
                ง.  ทุกข้อคือคำตอบ
10.  ข้อใด คือ พลังงานที่พบในประเทศไทยมากที่สุด
                ก.  น้ำมัน
                ข.  ถ่านหิน
                ค.  ก๊าซชีวภาพ
                ง.  ก๊าซธรรมชาติ